เมนู

นั้น ท่านกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วย ธิติ ด้วยอรรถว่า นิปกะ แต่ในอรรถกถา
นี้ อธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยธิตินั่นเอง. ความบากบั่นไม่ท้อถอยชื่อว่า ธิติ.
คำว่า ธิติ นั่น เป็นชื่อแห่งความเพียรอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ จ
นหารู จ
. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ แม้เพราะอรรถว่า มีบาปอันลอยแล้ว.
บาทคาถาว่า ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย ความว่าพระราชาผู้ปรปักษ์
ทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่ชนะแล้วนำความฉิบหายมาให้ ทรงสละราชสมบัติ
ทรงเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด บุคคลละสหายที่เป็นพาลแล้ว พึงเที่ยวไป
แต่ผู้เดียวฉันนั้น.
อีกประการหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺฐํ ความว่า พระเจ้าสุตตโสม
ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด และ
พระมหาชนกทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียว
ฉันใด บุคคลพึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวฉันนั้น. เนื้อความแห่งคาถานั้น มีเท่านี้.
ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญาเครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มี
ปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มี
ใจชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.
บทที่เหลือ อาจเพื่อรู้ได้ ด้วยทำนองที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่
ได้อธิบายให้พิสดาร.
สหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 13


คาถานี้ว่า อทฺธา ปสํสาม ดังนี้ มีอุบัติตั้งแต่พระปัจเจกพุทธเจ้า
ทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ในพื้นระเบียง เป็นเช่นกับอุบัติในจาตุท-
ทิสคาถานั่นแล. ส่วนความแปลกกันมีดังนี้ :-

พระราชาพระองค์นั้นทรงสะดุ้งในราตรีถึง 3 ครั้ง ฉันใด พระราชา
นี้ หาเป็นฉันนั้นไม่ ทั้งยัญก็ไม่ปรากฏแก่พระองค์ ท้าวเธอทรงนิมนต์พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่ง บนอาสนะที่ปูไว้ที่พื้นระเบียงแล้ว ตรัสถามว่า
พวกท่านชื่ออะไร ?
ป. มหาบพิตร พวกอาตมา ชื่อว่า ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ
ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำว่า ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษนี้ มีประโยชน์
อย่างไร ?
ป. พวกอาตมาได้สิ่งที่ดีหรือไม่ดี ก็ไม่มีอาการผิดแปลกบริโภค
มหาบพิตร
พระราชาทรงสดับเช่นนั้นแล้ว ทรงพระราชดำรินี้ว่า เอาเถิด เรา
จะพิจารณาสมณะเหล่านี้ว่า เป็นเช่นนี้ หรือไม่ ในวันนั้น ทรงอังคาส
ด้วยข้าวปลายเกรียนกับส้มผักดอง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็บริโภคไม่
แสดงอาการผิดแปลกเหมือนบริโภคอมตะ พระราชาทรงพระราชดำริว่า สมณะ
เหล่านี้ เป็นผู้ไม่แสดงอาการผิดแปลกเพราะได้ปฏิญญาแล้วในวันที่หนึ่ง เรา
จักรู้ในพรุ่งนี้ จึงทรงนิมนต์เพื่อบริโภคในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันที่ 2 จากนั้น ก็
ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็บริโภคเหมือน
เดิม ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า บัดนี้ เราจักถวายสิ่งที่ดีกว่า
ทดลองดู ดังนี้แล้ว ทรงนิมนต์อีก ทรงกระทำสักการะใหญ่ตลอดสองวัน
ทรงอังคาสด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น
ก็บริโภคไม่แสดงอาการผิดแปลกเหมือนเดิม กล่าวมงคลถวายพระราชาแล้ว
หลีกไป.
พระราชาครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นหลีกไปไม่นาน จึงทรงพระ-
ราชดำริว่า พระสมณะเหล่านั้น บริโภคโภชนะไม่มีโทษ โอหนอ ! แม้เราก็พึง

บริโภคโภชนะไม่มีโทษ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติมาก สมาทานบรรพชา
ปรารภวิปัสสนา เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงยังอารมณ์ของพระองค์ให้
แจ่มแจ้ง ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่โคนต้นไม้รกฟ้าตรัสพระ-
คาถานี้ว่า
อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ
เสฏฺฐา สมา เสวิตพฺพา สหายา
เอเต อลทฺธา อนวชฺชโภชี
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ
สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประ-
เสริฐสุดและเสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็น
ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
คาถานั้น ว่าโดยอรรถแห่งบทตื้นทั้งนั้น. ก็สหายทั้งหลายผู้ถึงพร้อม
ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น ที่เป็นอเสขะ ในบทว่า สหายสมฺปทํ นี้อย่างเดียว
เท่านั้น พึงทราบว่า สหายผู้ถึงพร้อม. ส่วนโยชนาในบทนี้ มีดังนี้ สหายผู้
ถึงพร้อมนี้ใดที่กล่าวแล้ว เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมนั้นแน่แท้ อธิบาย
ว่า เราชื่นชมโดยส่วนเดียวเท่านั้น. อย่างไร. คือ พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด
ผู้เสมอกัน. เพราะเหตุอะไร. เพราะเมื่อกุลบุตรคบสหายผู้ประเสริฐสุด ด้วย

คุณธรรมมีศีลเป็นต้นของตน ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ที่ยังไม่เกิด ย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ เมื่อคบสหายผู้เสมอกัน
ธรรมทั้งหลายที่ได้แล้ว ย่อมไม่เสื่อม เพราะทรงความเสมอกันและกัน และ
เพราะกำจัดความรังเกียจ แต่กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ ไม่ได้คบสหายผู้ประ-
เสริฐสุด และผู้เสมอกันเหล่านั้น เว้นมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น
บริโภคโภชนะที่เกิดขึ้นโดยธรรมและโดยเสมอ และไม่ให้ปฏิฆานุสัยในโภชนะ
นั้นเกิดขึ้น เป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น เพราะแม้เราเที่ยวไปอย่างนี้ จึงบรรลุสมบัตินี้แล.
อนวัชชโภชิคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 14


คาถาว่า ทิสฺวา สุวณฺณสฺส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
พระเจ้ากรุงพาราณสี พระองค์หนึ่ง เสร็จเข้าที่บรรทมในกลางวัน
ในคิมหสมัย และในพระราชสำนักของพระองค์ นางวรรณทาสีกำลังบด
จันทร์เหลืองอยู่ ในแขนข้างหนึ่งของนาง มีกำไลทองหนึ่งวง ในแขนอีกข้าง
หนึ่ง มีกำไลทองสองวง กระทบกัน กำไลทองหนึ่งวงนอกนี้ไม่กระทบ
พระราชาทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงทรงแลดูนางทาสีบ่อย ๆ พลางทรงพระราช-
ดำริว่า ในการอยู่เป็นหมู่ย่อมมีการกระทบกัน ในการอยู่คนเดียว ย่อมไม่มี
การกระทบ เหมือนอย่างนั้นแล.
โดยสมัยนั้น พระเทวีผู้ทรงประดับประดาด้วยเครื่องอลังการพร้อม
สรรพ์ ประทับยืนถวายงานพัดอยู่ พระนางทรงดำริว่า พระราชาชะรอยจะมี